บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction)

Get Started. It's Free
or sign up with your email address
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction) by Mind Map: บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย (Introduction)

1. จรรยาบรรณของนักวิจัย

1.1. ความซื่อสัตย์

1.2. ความเป็นกลาง

1.3. ความรับผิดชอบ

1.4. คำนึงถึงผลเสียต่อผู้อื่นโดยถือหลักมนุษยธรรม

1.5. มีความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล

1.6. ไม่เป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ผู้อื่น

1.7. มีความรู้ ความสามารถในการวิจัย

2. ประเภทของการวิจัย

2.1. การจำแนกประเภทตามระเบียบวิธีวิจัย

2.1.1. การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

2.1.1.1. เพื่อสืบค้น สืบสวนทางด้านประวัติความเป็นมา

2.1.2. การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณา

2.1.2.1. การศึกษาข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

2.1.2.2. เป็นที่นิยมมากในการวิจัยทางการศึกษา

2.1.2.3. แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

2.1.2.3.1. การศึกษาสำรวจ

2.1.2.3.2. การศึกษาสัมพันธภาพ

2.1.2.3.3. การศึกษาพัฒนาการ

2.1.3. การวิจัยเชิงทดลอง

2.1.3.1. การวิจัยเชิงทดลองเเท้

2.1.3.1.1. คุมตัวแปรได้ทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด

2.1.3.2. การวิจัยกึ่งทดลอง

2.1.3.2.1. ไม่สามารถคุมตัวแปรได้ทั้งหมด

2.2. การจำแนกประเภทตามลักษณะของข้อมูล

2.2.1. การวิจัยเชิงคุณภาพ

2.2.1.1. สนใจข้อมูลด้านความรู้สึก ความหมาย ค่านิยม

2.2.2. การวิจัยเชิงปริมาณ

2.2.2.1. ศึกษาวิเคราะห์ด้วยข้อมูลเชิงปริมาณแแสดงผลการวิจัยเป็นตัวเลขและค่าสถิติต่าง ๆ

2.3. การจำแนกประเภทตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย

2.3.1. การวิจัยพื้นฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์

2.3.1.1. มุ่งแสวงหาความจริงความรู้ใหม่ ๆ เพื่อสนองความอยากรู้

2.3.2. การวิจัยประยุกต์

2.3.2.1. เน้นการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

2.3.3. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

2.3.3.1. วิจัยเพื่อมุ่งนำผลมาแก้ปัญหา

3. ขั้นตอนการวิจัย

3.1. การเลือกและกำหนดปัญหา

3.1.1. มีจุดมุ่งหมายชัดเจน มีการระบุตัวแปร กำหนดสมมุติฐาน

3.2. การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

3.2.1. ค้นคว้าเอกสารจากงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

3.3.1. ลงมือทำตามกิจกรรมและตามขั้นตอนที่ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ในเค้าโครงงานวิจัย

3.4. การวิเคราะห์ข้อมูล

3.4.1. นำข้อมูลมาจัดระเบียบ แปลงข้อมูล ตรวจสอบความสมบรูณ์ เป็นต้น

3.5. การสรุปผลการวิจัย

3.5.1. เสนอผลการวิจัยและอภิปรายผล

4. ความหมายของการวิจัย

4.1. การหาความรู้ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่และเพื่อนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์

5. จุดมุ่งหมายของการวิจัย

5.1. เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่หรือสร้างสรรค์ความรู้ใหม่

5.2. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์หลาย ๆ ด้าน

5.2.1. ใช้สำหรับบรรยายสภาพของปัญหา

5.2.2. ใช้สำหรับพยากรณ์หรือทำนายเหตุการณ์

5.2.3. ใช้สำหรับปรับปรุงและพัฒนาสภาพการ

5.2.4. ใช้สำหรับควบคุมปัญหา

5.2.5. ใช้สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด

6. ประโยชน์ของการวิจัย

6.1. ประโยชน์ต่อสังคม

6.1.1. ช่วยให้สังคมได้รับความรู้ใหม่ ๆ

6.2. ประโยชน์ต่อนักวิจัย

6.2.1. ช่วยเพิ่มพูนสติปัญญาของนักวิจัย ทำให้นักวิจัยเป็นผู้รอบรู้ ทันสมัยทางวิชาการ

7. พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้

7.1. การแสวงหาความรู้อย่างไม่มีระบบแบบแผน -เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่มนุษย์สมัยโบราณพยายามแสวงหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติแวดล้อม

7.1.1. การได้รับความรู้โดยบังเอิญ

7.1.1.1. ได้รับความรู้มาโดยไม่คาดคิด ส่วนใหญ่ได้จากประสบการณ์

7.1.2. การได้รับความรู้โดยการลองผิดลองถูก

7.1.2.1. หาความรู้โดยการเดา ลองทำดูหลาย ๆ ครั้ง จนกว่าจะได้คำตอบที่พอใจหรือคำตอบที่ดีที่สุด

7.1.3. การได้รับความรู้จากผู้รู้

7.1.3.1. รับจากผู้ที่มีความรู้ มีสติปัญญาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เช่น พระ นักบวช ครู

7.1.3.2. รับจากแหล่งความรู้และแหล่งวิชาการ เช่น สถานที่หรือสิ่งของที่บรรจุบันทึกข้อความรู้ต่าง ๆ

7.1.4. การได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหรือนักปราชญ์

7.1.4.1. ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีความรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ชำนาญในด้านใดด้านหนึ่ง

7.1.5. การได้รับความรู้จากประเพณีวัฒนธรรม

7.1.5.1. สิ่งที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

7.1.6. การได้รับความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง

7.1.6.1. เรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนมีการสรุปเป็นความรู้เฉพาะตัว

7.2. การเเสวงหาความรู้ด้วยระบบเหตุผล - ใช้หลักตรรกวิทยา เป็นกระบวนการคิดและคิดเคราะห์โดยอาศัยความจริงที่มีอยู่แล้วช่วยในการหาบทสรุป มีระบบและขั้นตอนมากขึ้น

7.2.1. วิธีอนุมาน หรือ นิรนัย

7.2.1.1. เป็นการใช้เหตุผลประกอบด้วยกฏเกณฑ์หรือข้อความ เริ่มจากการนำความรู้เดิมมาอ้างเป็นหลักจากนั้นค่อยอธิบายคิดหาเหตุผลเพื่ออธิบายเหตุการณ์และจึงสรุปผลเป็นความรู้ใหม่

7.2.1.2. ผู้คิดค้นคือ อริสโดเติล

7.2.1.3. องค์ประกอบของการคิดแบบอนุมาน

7.2.1.3.1. 1. major premise ข้อเท็จจริงหลักเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป

7.2.1.3.2. 2. minor premise ข้อเท็จจริงย่อย

7.2.1.3.3. 3. conclusion ข้อสรุปเกิดจาดการพิจารณาระหว่าง major และ minor premise

7.2.1.4. ขั้นตอนของการคิดแบบอนุมาน

7.2.1.4.1. กำหนด major premise

7.2.1.4.2. นำ major premise มาพิจารณา วิเคราะห์ว่ามีความสัมพันธ์กับ minor premise อย่างไร

7.2.1.4.3. ลงสรุปเป็นความรู้ใหม่

7.2.2. วิธีอุปมาน หรือ อุปนัย

7.2.2.1. การหาความรู้ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อเท็จจริงย่อย ๆ ก่อน จากนั้นจึงนำมาพิจารณาวิเคราะห์สังเคราะห์ แล้วจึงสรุป เป็นการสรุปย่อยไปหาส่วนใหญ่

7.2.2.2. ผู้คิดค้นคือ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน

7.2.2.3. วิธีการอุปมาน

7.2.2.3.1. เก็บรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงย่อย ๆ เกี่ยวกับสิ่งที่เราต้องการทราบ

7.2.2.3.2. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์

7.2.2.3.3. สรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ หรือ ความรู้ใหม่

7.2.3. วิธีอนุมาน - อุปมาน

7.2.3.1. ผู้คิดค้นคือ ชาร์ลส์ ดาร์วิน

7.2.3.2. ใช้วิธีการแสวงหาความรู้ทั้งวิธีอนุมานและอุปมานร่วมกัน

7.2.3.3. ขั้นตอนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีอนุมาน อุปมาน

7.2.3.3.1. ใช้วิธีอนุมานในการตั้งสมมติฐาน

7.2.3.3.2. ใช้วิธีอุปมานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และยืนยีนหรือคัดค้านสมมุติฐานที่ตั้งไว้

7.2.3.3.3. สรุปเป็นความรู้ใหม่

7.3. การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

7.3.1. ดัดแปลงแนวคิดแบบนุมาน-อุปมาน มาเป็นกระบวนการคิดแบบ Reflective Thinking

7.3.2. คิดค้นโดย จอห์น ดิวอี้

7.3.3. ขั้นตอนวิธีการทางวิทยาศาสตร์

7.3.3.1. ขั้นระบุปัญหาหรือกำหนดปัญหา

7.3.3.1.1. สิ่งที่อยากหาคำตอบหรือสิ่งที่ต้องการศึกษา

7.3.3.2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน

7.3.3.2.1. การคาดคะเนความน่าจะเป็น

7.3.3.3. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล

7.3.3.3.1. รวบรวมข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

7.3.3.4. ขั้นวิเคราะห์และตีความข้อมูล

7.3.3.4.1. แยกแยะและแปลผลข้อมูล

7.3.3.5. ขั้นสรุปผล

7.3.3.5.1. สรุปผลจากการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล

7.3.4. เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด

8. คุณสมบัติของนักวิจัย

8.1. ด้านความรู้หรือพุทธิพิสัย

8.1.1. มีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัย

8.1.2. มีความรู้ในเรื่องที่ทำการวิจัยพอสมควร

8.1.3. มีความรู้ในระเบียบวิธีวิจัย

8.2. ด้านความสามารถหรือทักษะพิสัย

8.2.1. มีความสามารถในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัย

8.3. ด้านเจตคติหรือจิตพิสัย

8.3.1. มีเจตคติที่ดี ทำงานอย่างเป็นระบบ ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ มีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งใหม่ ๆ