บทที่ 3 การใช้งานตัวแปรและเครื่องหมายใน PHP(Variable & Arithmetic)
by Bank OiOi
1. การแปลงรูปแบบข้อมูลในตัวแปรหรือค่าคงที่แบบเจาะจง
1.1. เราสามารถแปลงรูปแบบข้อมูลจากแบบหนึ่งไปยังอีกแบบหนึ่ง (type casting) เช่น แปลงจากข้อความที่ มีเฉพาะตัวเลขให้กลายเป็น เลขจำนวนเต็ม (int) หรือทศนิยม (double), (float), (real) หรืออาจจะใช้ คำสั่ง settype() ทำได้ตามตัวอย่างต่อดังนี้
1.1.1. line 1: <?php line 2: $x = ((double)"100.1") + 0.3e+3; line 3: echo $x," <BR>\n"; line 4: echo ($x=(int)$x)," <BR>\n"; line 5: $x = "P".$x."\n"; line 6: echo $x," <BR>\n"; line 7: $x= ceil(13.45); /* get integer part */ line 8: echo $x," <BR>\n"; line 9: if (!settype( $x, "integer") ) { line 10: echo "error\n"; line 11: } line 12: echo $x," $x%5=",($x%5)," <BR>\n"; line 13: ?>
2. ของตัวแปรหรือค่าคงที่
2.1. ถ้าต้องการเช็คดูว่า ตัวแปรมีข้อมูลแบบใด เราสามารถใช้คำสั่ง gettype() ได้ค่าที่ได้จากฟังก์ชันก็จะเป็น "integer" "double" หรือ "string" เป็นต้น
3. การใช้ตัวแปรในภาษา PHP
3.1. สำหรับการเขียนโปรแกรมสำหรับภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง สิ่งที่จะขาดไม่ได้คือ การกำหนดและใช้ตัว แปร (variable) ตัวแปรในภาษา PHP จะเหมือนกับในภาษา Perl คือเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย dollar ($) โดยเรา ไม่จำเป็นต้องกำหนดแบบของข้อมูล (data type) อย่างเจาะจงเหมือนในภาษาซี เพราะว่า ตัวแปลภาษาจะจำแนกเองโดยอัตโนมัติว่า ตัวแปรดังกล่าว ใช้ข้อมูลรูปแบบใดในช่วงเวลานั้นๆ เช่น ข้อความ จำนวนเต็ม จำนวนที่มีเลขจุดทศนิยมตรรก เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งาน เช่น
3.1.1. $mystring = "Hello World!"; $myinteger = 1031; $myfloat = 3.14;
4. ขอบเขตการตั้งชื่อตัวแปร
4.1. - ขึ้นต้นด้วยเครื่งหมาย $ แล้วตามด้วยตัวอักษร A-Z,a-z
4.2. - มีความยาวไม่เกิน 255 ตัวอักษร
4.3. - ห้ามมีจุดทศนิยม หรือช่องว่าง
4.4. - จะต้องไม่ตรงกับคำสงวน และควรตั้งชื่อ ให้มีความหมายใกล้เคียงกับ ค่าที่เก็บ
4.5. - ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่จะเป็นตัวแปรต่างกัน
4.6. - ถ้าตั้งตัวแปรมาใหม่ แล้วทับตัวแปรเก่า ค่าของตัวแปรเก่าจะหายไป ถ้าเราต้องการจะแสดงค่าของตัวแปร ก็อาจจะใช้คำสั่ง echo ได้ ตัวอย่างเช่น
4.6.1. echo "$mystring\n"; echo "$myinteger\n"; echo "$myfloat\n";