จักวรรดินิยมในยุโรป

Lancez-Vous. C'est gratuit
ou s'inscrire avec votre adresse e-mail
จักวรรดินิยมในยุโรป par Mind Map: จักวรรดินิยมในยุโรป

1. การขยายอิธิพลของฮอลันดา

1.1. ฮอลันดาจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออก เพื่อค้าขายและขยายอำนาจในดินแดนโพ้นทะเล ฮอลันดาสนใจการค้าเครื่องเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะหมู่เกาะอินดัสตะวันออกหรือหมู่เกาะอินโดนีเซียในปัจจุบันซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเครื่องเทศ เรือสินค้าฮอลันดสพร้อมด้วยเรือรบคุ้มครองได้ขยายอำนาจในอินโดนีเซียด้วยการค้าขายกับชาวพื้นเมือง พร้อมทั้งถือโอกาสเข้าแทรกแซงทางการเมืองด้วยการช่วยเหลือทางทหารแก่สุลต่านซึ่งเป็นผู้ปกครองเกาะ ฮอลันดาจึงได้รับผลประโยชน์ทางการค้าและเข้าไปปกครองเกาะบางเกาะ ด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นผลทำให้ฮอลันดาสามารถผูกขาดการค้าในหมู่เกาะอินโดนีเซีย และขยายอิทธิพลทางการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ภายหลังเมื่อฮอลันดาทำสงครามทางเรือชนะโปรตุเกสและอังกฤษ ฮอลันดาก็สามารถยึดครองหมู่เกาะต่างๆ ในอินโดนีเซียไว้ใต้อำนาจของตนได้หมดสิ้น

2. การขยายอิทธิพลของอังกฤษ

2.1. อังกฤษจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกเพื่อค้าขายในดินแดนโพ้นทะเล และเข้ามาค้าขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายหลังฮอลันดา 5 ปี ในระยะแรกพ่อค้าอังกฤษไม่สามารถค้าขายแข่งขันกับฮอลันดาได้ ประกอบกับกองทัพเรืออังกฤษยังไม่เข้มแข็งเท่าฮอลันดา อังกฤษจึงต้องถอนตัวออกจากการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปช่วงระยะหนึ่ง

3. การขยายอิทธิพลของฝรั่งเศส

3.1. ฝรั่งเศสจัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกเพื่อทำหน้าที่ค้าขายและขยายอำนาจ เช่นเดียวกับอังกฤษและฮอลันดา นอกจากฝรั่งเศสสนใจการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ฝรั่งเศสยังสนใจเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก เช่นเดียวกับโปรตุเกสและสเปนอีกด้วย

4. มูลเหตุแห่งการล่าอาณานิคม

4.1. 1.พ่อค้าชาวยุโรปต้องการซื้อสินค้าเครื่องเทศจากแหล่งผลิตโดยตรง โดยไม่ตรงผ่านมือพ่อค้าคนกลาง คือ ชาวอาหรับ 2.การค้าทางเรือเสียค่าใช้จ่ายน้อย มีความเสี่ยงน้อยกว่าการค้าขายทางบก 3.สันตะปาปาที่กรุงโรม ทรงมีนโยบายสนับสนุนกษัตริย์ของประเทศในยุโรป ซึ่งนับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะโปรตุเกส สเปน และฝรั่งเศส ให้ส่งมิชชันนารีเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาในต่างแดน 4.เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประชากรมีอยู่มากและเจริญรุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมอยู่แล้ว 5.ยุโรปก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ สามารถต่อเรือเดินทางทะเลขนาดใหญ่ ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการเดินเรือที่ทันสมัยและปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งพระมหากษัตริย์ในทวีปยุโรปสนับสนุนการค้นหาดินแดนที่อยู่ห่างไกล จึงกระตุ้นนักเดินเรือให้สนใจเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ

5. การขยายอิทธิพลของโปรตุเกส

5.1. โปรตุเกสเป็นชาติแรกที่สามารถแล่นเรือจากยุโรปมายังอินเดีย โดยอ้อมแหลมแอฟริกามาถึงเมืองกาลิกูฏในอินเดียเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2041 ต่อมาได้เข้ายึดครองเมืองกัว ในอินเดีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2054 โปรตุเกสยึดมะละกาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศที่สำคัญในสมัยนั้น โปรตุเกสประสบความสำเร็จในการค้าเครื่องเทศ จึงขยายอำนาจของตนเข้าไปในดินแดนหมู่เกาะของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน เช่น หมู่เกาะโมลุกกะหรือหมู่เกาะเครื่องเทศ และสร้างความยิ่งใหญ่ทางด้านกองทัพเรือ สามารถทำลายระบบการค้าแบบผูกขาดของชาติอาหรับได้สำเร็จ และได้ผูกขาดการค้าในภูมิภาคนี้แทนอาหรับ รวมทั้งได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของอาณาจักรต่างๆ เช่น เป็นทหารอาสาสมัครในกองทัพไทยและพม่า เผยแพร่ความรู้ทางวิทยาการแก่ชาวพื้นเมืองโดยเฉพาะด้านการทหารแบบสมัยใหม่ นอกจากนั้นโปรตุเกสยังส่งมิชชันนารีเผยแพร่คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น โปรตุเกสได้ขยายอิทธิพลไปถึงจีนและญี่ปุ่น จัดตั้งศูนย์กลางการค้าที่มาเก๊าเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคนี้ โปรตุเกสมีอิทธิพลทางการค้าและการเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออกได้นานเกือบ 100 ปี จึงเสื่อมอำนาจลงเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 22 เนื่องจากฮอลันดาและอังกฤษมีความเข้มแข็งทางกองทัพเรือเหนือกว่าโปรตุเกส และได้มีนโยบายขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โปรตุเกสทำสงครามพ่ายแพ้แก่ฮอลันดาหลายครั้ง จนต้องสูญเสียมะละกาให้แก่ฮอลันดา

6. การขยายอิทธิพลของสเปน

6.1. สเปนได้ส่งนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อ แมกเจลแลน นำกองเรือออกจากสเปนอ้อมทวีปอเมริกาเข้ามหาสมุทรแปซิฟิกมาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2064 ต่อมาเกิดขัดแย้งกับชาวพื้นเมืองถึงขั้นสู่รบกัน แมกเจลแลนถูกฆ่าตาย ลูกเรือที่เหลือจึงนำเรือหนีออกจากฟิลิปปินส์เดินทางกลับผ่านช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย อ้อมแหลมแอฟริกากลับไปถึงสเปนได้สำเร็จ นับเป็นการเดินทางโดยทางเรือรอบโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ต่อมากษัตริย์สเปนได้ส่งเรือรบพร้อมด้วยกำลังทหารเดินทางมายังฟิลิปปินส์อีกหลายครั้งและเข้ายึดเกาะต่างๆ สเปนได้เข้าปกครองชาวฟิลิปปินส์ และได้เผยแผ่คริสต์ศาสนาแก่ชาวพื้นเมืองบาทหลวงชาวสเปนได้เข้าไปสอนศาสนาชาวพื้นเมืองซึ่งส่วนใหญ่ยังนับถือผีสางเทวดา และได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชาวฟิลิปปินส์ ด้วยการจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือและสร้างวัฒนธรรมแบบสเปนแก่ชาวพื้นเมือง ทำให้ชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ของประเทศหันไปนับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นบางเกาะทางภาคใต้ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม