การปฏิวัติอุตสาหกรรม

Começar. É Gratuito
ou inscrever-se com seu endereço de e-mail
การปฏิวัติอุตสาหกรรม por Mind Map: การปฏิวัติอุตสาหกรรม

1. ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

1.1. ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีดังนี้ 1. ประชากรทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะความ ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และทางด้านการแพทย์เจริญก้าวหน้า ขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความสมบูรณ์ของอาหาร ระบบ สาธารณสุขและการดูแลสุขภาพอนามัย การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการอพยพจากชนบทมาหางานทำใน เมืองจนเกิดปัญหาความแออัดของประชากรในเขตเมือง 2. การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและสถาปัตยกรรม พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้น เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมและ เทคโนโลยีการก่อสร้าง ทำให้อาคารแข็งแรงขึ้น การออกแบบ ก่อสร้างหอไอเฟล (EIFFEL TOWER) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1889 ถือเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นการก่อสร้างที่ ทันสมัยของโลก 3. เกิดปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย เช่น ชุมชนแออัด การแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัญหาอาชญากรรม การใช้ แรงงานเด็ก การเอารัดเอาเปรียบกัน ทำให้เกิดแนวคิดของ ลัทธิสังคมนิยม (SOCIALISM) ของคาร์ล มาร์กซ์ (KARL MARX) ที่เรียกร้องให้กรรมกรรวมพลังกันเพื่อก่อการปฏิวัติโค่นล้มระบบ ทุนนิยม ทำให้ลัทธิสังคมนิยมมีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้น 4. เกิดลัทธิเสรีนิยม (LIBERALISM) ซึ่งเป็นพื้นฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยและ แนวคิดนี้แพร่หลายกว้างขวางขึ้น ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ค.ศ. 1776 แอดัม สมิธ (ADAM SMITH) ได้พิมพ์งานเขียนชื่อ THE WEALTH OF NATIONS เพื่อเสนอแนวคิดว่าความมั่งคั่งของ ประเทศจะเกิดจากระบบการค้าแบบเสรี (LAISSEZ FAIRE) กล่าวได้ว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการแบ่งค่ายระหว่างลัทธิทุนนิยมกับลัทธิ สังคมนิยมอย่างเป็นรูปธรรม ต่อมาใน ค.ศ. 1889 ได้มีการประกาศให้วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันเมย์เดย์หรือวันแรงงานสากล (MAY DAY) นอกจากนี้ยังทำให้เกิดวรรณกรรมแนวสัจนิยม (REALISM) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่พยายามเสนอเรื่องความเป็นจริงเบื้องหลัง ความสำเร็จ ของระบบสังคมอุตสาหกรรม ที่ชนชั้นกรรมกรมีชีวิตที่ยากไร้และถูกเอารัดเอาเปรียบ 5.การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมได้ขยายไปทั่วภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเมือง และทำให้ประเทศต่างๆ เหล่านี้มี “วัฒนธรรมร่วม” ตามตะวันตกไปด้วย

2. การปฏิวัติอุตสาหกรรมคืออะไร

2.1. การปฏิวัติอุตสาหกรรม (INDUSTRIAL REVOLUTION) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงใน วิธีการผลิตและระบบการผลิต จากเดิมระบบการผลิตมักทำกันภายในครอบคัว พ่อค้ามักเป็น นายทุนซื้อวัตถุดิบแล้วแจกจ่ายให้แต่ละครอบครัวรับมาทำ แล้วพ่อค้าจะรับผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จ แล้วไปขาย คนงานก็จะได้ค่าจ้างเป็นการตอบแทน การผลิตสินค้าเดิมใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ รวมทั้งพลังงานจากธรรมชาติ เครื่องมือแบบง่ายๆ มาเป็นการใช้เครื่องจักรกลแทน เริ่มจากแบบ ง่ายๆ จนถึงแบบซับซ้อนที่มีกำลังผลิตสูง จนเกิดเป็นการผลิตในระบบโรงงาน (FACTORY SYSTEM) การผลิตภายในครอบครัวก็ค่อยๆ หมดไป และผู้คนจำนวนมากตามชนบทต้องอพยพเข้ามาทำงาน เป็นกรรมกรในโรงงาน

3. การปฏิวัติอุตสหากรรมแบ่งเป็น 2 ระยะ

3.1. การปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะแรก คือ การประดิษฐ์เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการ ทอผ้า เช่น ใน ค.ศ. 1733 จอห์น เคย์ (JOHN KAY) แห่งเมืองแลงคาเชียร์ (LANCASHIRE) ได้ประดิษฐ์กี่กระตุก (FLYING SHUTTLE) ซึ่งช่วยให้ช่างทอผ้าสามารถผลิตผ้าได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า ค.ศ. 1764 เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (JAMES HARGREAVES) สามารถผลิตเครื่องปั่นด้าย (SPINNING JENNY) ได้สำเร็จ ต่อมา ค.ศ. 1769 ริชาร์ด อาร์กไรต์ (RICHARD ARKWRIGHT) ได้ปรับปรุง เครื่องปั่นด้ายให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และพัฒนาเป็นเครื่องจักรกลที่ใช้พลังน้ำหมุนแทนพลังคนเรียกว่า WATER FRAME ทำให้เกิดโรงงาน ทอผ้าตามริมฝั่งแม่น้ำทั่วประเทศ มีการ ขยายตัวทำไร่ฝ้ายในอเมริกา ต่อมาวิตนีย์ (ELI WHITNEY) สามารถประดิษฐ์เครื่อง แยกเมล็ดฝ้ายออกจากใย (COTTON GIN) ได้เมื่อ ค.ศ. 1793 การพัฒนาอุตสาห- กรรมการทอผ้าของอังกฤษเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 การประดิษฐ์ที่พัฒนาควบคู่กับการทอผ้า คือ การประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยเจมส์ วัตต์ (JAMES WATT) ชาวสกอต ประดิษฐ์ได้ใน ค.ศ. 1769 โดยใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลแทนพลังงาน น้ำ ซึ่งส่งผลให้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหมืองแร่และการทอผ้า ต่างใช้เครื่องจักรไอน้ำ เป็นพลังขับเคลื่อนเครื่องจักรกลทั้งสิ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็ก เมื่อมีการพัฒนาเครื่องจักร กลไอน้ำ ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กขยายปริมาณการผลิตได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อเฮนรี คอร์ต (HENRY CORT) ชาวอังกฤษคิดค้นวิธีการ หลอมเหล็กให้มีคุณภาพดีขึ้น ก็ส่งผลให้มีการปรับปรุงคุณภาพของปืนใหญ่ ตลอดจนยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้มี ประสิทธิภาพขึ้น ต่อมาใน ค.ศ. 1807 ชาวอังกฤษได้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมจำหน่ายเครื่องจักร ณ เมืองลีจ (LIEGE) ประเทศเบลเยียม ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้นในเบลเยียม แต่อย่างไรก็ตาม ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษยังครองความเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยใน ค.ศ. 1851 อังกฤษได้จัดแสดงนิทรรศการครั้งใหญ่ (GREAT EXHIBITION) แสดงความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเหล็กของอังกฤษ

3.2. การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 2 เป็นการปรับปรุงการคมนาคมสื่อสาร ซึ่งเป็นผลมาจาก ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเหล็กและเครื่องจักรไอน้ำ โดยใน ค.ศ. 1804 ริชาร์ด เทรวีทิก(RICHARD TREVITICK) นำพลังงานไอน้ำมาขับเคลื่อนรถบรรทุก รถจักรไอน้ำจึงมีบทบาทสำคัญใน อุตสาหกรรมขนส่ง ที่มีชื่อเสียงมาก คือ หัวรถจักรไอน้ำ ชื่อ ร็อกเกต (ROCKET) ของจอร์จ สตี- เฟนสัน (GEORGE STEPHENSON) ทำให้มีการเปิดบริการรถจักรไอน้ำบรรทุกสินค้าเป็นครั้งแรก ต่อ มามีการดัดแปลงมารับส่งผู้โดยสาร ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเข้าสู่ยุคการใช้รถไฟ ซึ่งเป็นผลทำให้ ความเจริญขยายตัวจากเขตเมืองไปสู่ชนบท เปลี่ยนชนบทให้กลายเป็นเมือง นอกจากนี้รถไฟยัง เป็นพาหนะสำคัญในการลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ และเป็นสิ่งกระตุ้นให้ยุโรป สนใจกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศสภายหลังการปฏิวัติใน ค.ศ. 1789 (FRENCH REVOLUTION : ค.ศ. 1789) ได้หันมา สนใจปฏิวัติอุตสาหกรรมเช่นเดียวกับเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา และก้าวขึ้นเป็นคู่แข่งกับอังกฤษ